วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1

ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ


1. “รัฐธรรมนูญ” หมายถึง บทกฎหมายสูงสุดที่ จัดระเบียบการปกครองประเทศ

2. “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” หมายถึง ระเบียบว่าด้วยการใช้อำนาจรัฐหรืออำนาจอธิปไตย ด้วยเหตุนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญจึงหมาย ถึงเป็นกฎเกณฑ์แบบแผนเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐว่ามีองค์กรอะไรบ้าง เช่น ประมุขแห่งรัฐ คณะรัฐมนตรี รัฐสภา ศาลเป็นต้น และองค์กรเหล่านั้นมีอำนาจหน้าที่อย่างไร มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งตลอดถึงความสัมพันธ์กับประชาชนในฐานะเป็นพลเมืองของรัฐอย่างไรบ้าง สำหรับรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยจะต้องรับรอง และประกันสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนด้วย

 3. กฎกระทรวง” หมายถึง กฎหมายที่ตราขึ้น โดยรัฐมนตรีที่รักษาการ ตามพระราชบัญญัติ ที่ให้อำนาจในการตรากฎกระทรวงนั้น ทั้งนี้จะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อน ซึ่งจะมีผลใช้บังคับได้ทั่ว ทั้งประเทศ หรือเฉพาะท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนั้น สำหรับประกาศกระทรวง หมายถึง กฎหมายที่ตราขึ้น โดยรัฐมนตรีที่รักษาตามพระราชบัญญัติ ที่ให้อำนาจในการตราประกาศกระทรวงนั้น ทั้งนี้ ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบ ของคณะรัฐมนตรี มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับกฎกระทรวง

4. เสรีภาพ” หมายถึง ภาวะความเป็นเสรีที่มนุษย์หรือบุคคลสามารถทำอะไรก็ได้ตามที่ใจปรารถนาตราบเท่าที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายของบ้านเมืองหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น

5. “สิทธิ” หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดหรือเกิดขึ้นโดยกฎหมาย เพื่อให้มนุษย์ได้รับประโยชน์ และมนุษย์จะเป็นผู้เลือกใช้สิ่งนั้นเอง โดยไม่มีผู้ใดบังคับได้ เช่น สิทธิในการกิน การนอน แต่สิทธิบางอย่างมนุษย์ได้รับโดยกฎหมายกำหนดให้มี เช่น สิทธิในการมี การใช้ทรัพย์สิน สิทธิในการร้องทุกข์เมื่อตนถูกกระทำละเมิดกฎหมาย เป็นต้น

6. “บุคคลสิทธิ” หมายถึง สิทธิที่มีอยู่เหนือบุคคลในอันที่จะบังคับบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญาหรือเป็นลูกหนี้ให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้งดเว้นมิให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้ส่งมอบทรัพย์

7. “ทรัพยสิทธิ” หมายถึง สิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สิน หรือเป็นสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินโดยตรง เช่น กรรมสิทธิ์เป็นทรัพยสิทธิที่ทำให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพยสิทธิสามารถใช้สอย จำหน่ายทรัพย์สิน ติดตามเอาทรัพย์สินนั้นคืนจากผู้ที่ไม่มีอำนาจยึดถือไว้ได้ ทรัพยสิทธิเป็นสิทธิที่ใช้ยันแก่บุคคลได้ทั่วไป หรือใช้ยันแก่บุคคลได้ทั่วโลก

8. การรอนสิทธิ หมายถึง การที่ผู้ซื้อทรัพย์สินถูกบุคคลภายนอกมาก่อการรบกวนขัดสิทธิในการที่จะครอบครองทรัพย์อย่างปกติ

9. “บุคลากรทางการศึกษาหมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษารวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา

10. “ผู้แทนโดยชอบธรรม” หมายถึง บุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้งจากศาลให้มีสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำการแทนบุคคลไร้ความสามารถ หรือพูดอีกอย่างก็หมายถึง เป็นบุคคลที่จะต้องเป็นผู้ให้คำอนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่บุคคลไร้ความสามารถในอันที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด

11. “หักกลบลบหนี้” หมายถึง การที่คนสองคนต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน และหนี้นั้นเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแล้ว และคนใดคนหนึ่งแสดงเจตนาต่ออีกคนหนึ่งขอหักกลบลบหนี้เพื่อจะได้พ้นจากหนี้ของตน เช่น ดำเป็นหนี้แดงอยู่ 20 บาท และแดงก็เป็นหนี้ดำอยู่ 15 บาท ทั้งสองคนจึงตกลงหักกลบลบหนี้กัน ดังนั้น ดำยังคงต้องใช้หนี้แดงอีกเพียง 5 บาท

อ้างอิง :
              พงศ์เพ็ญ  ศกุนตาภัย, รัฐธรรมนูญและการปกครองวารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ( กรุงเทพมหานคร  : ไทยวัฒนาพานิช  , ๒๕๓๔ ), หน้า ๒-๓..
              ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย โดย คณิน บุญสุวรรณ  ประเภทของหน้า: ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
              ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์.
              บัญญัติ สุชีวะ ธรรมศาสตร์บัณฑิต เนติบัณฑิตอังกฤษ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา : บทความกฎหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น