วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 3



5.หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้แล้วให้นักเรียนตอบคำถาม

1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
ตอบ   ดิฉันคิดว่าถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท พระราชบัญญัติน่าจะเป็นกฎหมายลำดับรองคือการที่ฝ่ายนิติบัญญัติให้บุคคลอื่นทำการออกกฎข้อบังคับที่เป็นอำนาจของตนแทนตน และกฎข้อบังคับนั้นมีผลบังคับเสมือนหนึ่งว่าได้ออกโดยผู้มอบอำนาจ กฎข้อบังคับที่ผู้รับมอบอำนาจตราขึ้นนี้ ในทางวิชาการมีคำที่ใช้เรียกอยู่หลายชื่อ เช่น “delegated legislation” เนื่องจากเป็นการใช้อำนาจที่ได้รับมอบมาเพื่อให้ไปออกกฎหมายต่อไป หรือ “subsidiary legislation” เนื่องจากเป็นกฎหมายที่มีลำดับอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติซึ่งออกโดยรัฐสภา  หรือ “subordinate legislation” เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ทำขึ้นโดยองค์กรที่มีอำนาจอยู่ภายใต้รัฐสภา
                                                          
2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ   ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้ดังนี้ คือ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในกาดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาตามมาตรานี้เป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายทั่วไปที่เป็นอุดมการณ์ของการศึกษา หรือปรัชญาการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติต่างๆ ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมและเนื่องจากจุดเน้นในส่วนนี้อาจจะทำให้เกิดการแปลความไปได้ว่ามุ่งพัฒนา "ปัจเจกบุคคล" เพียงด้านเดียว ฉะนั้นจึงได้กำหนดต่อไปว่า การพัฒนาดังกล่าวนั้นมุ่งให้คนไทย "มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" การเพิ่มมิติด้านสังคมนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างส่วนบุคคลและส่วนรวม ตามมาตรา 6
         มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นประมุข มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะวัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ถูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้
ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

      

3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   หลักในการจัดการศึกษา (ตามมาตรา 8) กำหนดไว้ 3 ประการ คือการศึกษาตลอดชีวิต การมีส่วนร่วม และการพัฒนาต่อเนื่อง ดังนี้
1.  การศึกษาตลอดชีวิต  ถือว่าการจัดการศึกษานั้นเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน หลักการคือคนทุกคนต้องได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การศึกษานี้ต้องครอบคลุมทุกด้าน มิใช่เฉพาะชีวิตการงานเท่านั้น เพราะไม่เพียงบุคคลต้องพัฒนาตนเองและความสามารถในการประกอบอาชีพของตน คนแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาชุมชนและประเทศโดยส่วนรวม ทั้งด้านเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและวัฒนธรรมด้วย ทั้งนี้ เพราะสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และพัฒนาการทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปรอบตัวเพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม
2.  การมีส่วนร่วม สังคมต้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การมีส่วนร่วมนั้นแสดงออกได้หลายลักษณะ เช่น ร่วมเป็นกรรมการ ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษา ร่วมสนับสนุนทรัพยากร ร่วมติดตามประเมิน ส่งเสริมให้กำลังใจและปกป้องผู้ปฏิบัติงานที่มุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม หลักการนี้ถือว่าอนาคตของประเทศและความจำเริญรุ่งเรืองของสังคมไทย เป็นความรับผิดชอบของคนไทยทุกคนมิใช่ถูกจำกัดโดยตรงในการจัดการศึกษา ดังนั้นจึงเป็นทั้งสิทธิและหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะเข้ามีส่วนร่วมในลักษณะต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อแก้ไขปัญหา อุปสรรคของการจัดการศึกษา ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและช่วยดูแลการจัดการศึกษาเป็นไปอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
3.  การพัฒนาต่อเนื่อง  การศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลาให้ทันกับความรู้ที่ก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง ดังนั้น การจัดการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การพัฒนานี้มีทั้งการค้นคิดสาระและกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ การประยุกต์ปรับปรุงเนื้อหาสาระที่มีอยู่ และการติดตามเรียนรู้เนื้อหาสาระที่มีผู้ประดิษฐ์คิดค้นมาแล้ว ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ว่าครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา ต้องถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญ ในการปรับปรุงตนเองให้ทันโลก และทันสมัย แต่ขณะเดียวกันก็ต้องทำความเข้าใจสภาพแวดล้อม เพื่อประยุกต์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ การรับความรู้มาถ่ายทอดโดยปราศจากดุลยพินิจอาจก่อความเสียหายโดยไม่คาดคิด จึงเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะช่วยกันดูแลให้ความรู้ใหม่ๆ เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและสังคมอย่างแท้จริง

4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาไว้ด้วย (มาตรา 9) ได้แก่
1.  หลักเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ หมายความว่าการจัดการศึกษาจะเน้นนโยบาย หลักการ และเป้าประสงค์ร่วมกัน แต่เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้ใช้ดุลยพินิจเลือกเส้นทางและวิธีการปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการทำงานของตน
2.  หลักการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการบริหารที่ให้สถานศึกษาบริหารจัดการได้เอง (School-based management) ตามหลักการนี้ จำเป็นต้องแยกภาระงานด้านนโยบายเกณฑ์และมาตรฐานออกจากงานด้านปฏิบัติหรืองานบริการ ทั้งนี้ หน่วยงานส่วนกลางทำหน้าที่กำหนดนโยบาย เกณฑ์และมาตรฐาน ส่วนเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ จึงจำเป็นต้องกระจายอำนาจให้หน่วยปฏิบัติดูแลและรับผิดชอบ การตัดสินใจด้วยตนเองโดยหน่วยงานส่วนกลางทำหน้าที่ติดตาม ประเมิน ตรวจสอบ ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยปฏิบัติที่ได้รับมอบอำนาจสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.  การกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา ตามหลักการนี้ ในเมื่อหน่วยปฏิบัติได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการได้อย่างคล่องตัวพอควรแล้ว  ก็จำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาให้หน่วยปฏิบัติรับผิดชอบ เพราะการมอบอำนาจโดยไม่มีกติกาก็เท่ากับมอบให้ทำงานโดยไม่มีเป้าหมาย ซึ่งไม่สามารถประเมินได้ ในเมื่อรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ทรัพยากรสนับสนุนแก่สถานศึกษา และหน่วยงานการศึกษา ซึ่งอาจเปรียบเสมือนการซื้อสินค้าหรือบริการ ก็ต้องมีสิทธิกำหนดคุณค่าและลักษณะของสิ่งที่ต้องการซื้อ โดยยึดเป้าหมายผลการจัดการศึกษาเป็นหลัก ได้แก่ มาตรฐานการศึกษา รวมทั้งหน่วยปฏิบัติเองก็ต้องวางระบบประกันคุณภาพเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ซื้อสินค้าและบริการของตน จากนั้นจำเป็นต้องมีการประเมินผลการจัดการศึกษาโดยพิจารณาจากมาตรฐานและระบบประกันคุณภาพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย อย่างน้อยผลการประเมินจะส่งเสริมให้ผู้จัดการศึกษาแต่ละระดับได้ตระหนักว่าผลการดำเนินการของตนเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับมาตรฐานการศึกษาและเกณฑ์ชี้วัดของระบบประกันคุณภาพ และต้องหาทางปรับปรุงผลการจัดการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานและรักษาระดับการประกันคุณภาพของตนให้จงได้ รวมทั้งยกระดับการจัดการศึกษาให้สูงขึ้นด้วย
4.  การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาต่อเนื่อง โดยกำหนดมาตรการต่างๆ เช่น การกำหนดให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ การส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตามหลักสูตรการอบรมมาตรฐานต่างๆ ทั้งนี้ โดยมีเจตนาเพื่อรักษาคุณภาพของผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้อยู่ในระดับที่พึงประสงค์ และกระตุ้นส่งเสริมให้พัฒนาปรับปรุงตลอดเวลา อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ได้รับการศึกษาโดยตรง
5.  การระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆมาใช้เพื่อการจัดการศึกษา  ทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการจัดการศึกษา ได้แก่ ทรัพยากรการเงิน วัสดุอุปกรณ์ ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในการเรียนการสอน ภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อและเทคโนโลยีต่างๆ ล้วนเป็นทรัพยากรจำเป็นแต่รัฐไม่สามารถจัดหามาสนับสนุนได้อย่างเพียงพอ จึงถือเป็นภาระหน้าที่ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนในการจัดการศึกษาจะเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาในแต่ละท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ครูอาจเชิญผู้เฒ่าในหมู่บ้านที่มีความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านมาช่วยสาธิตหรือสอนวิชาที่เกี่ยวข้องได้
6.  การมีส่วนร่วม  การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นในการจัดการศึกษา โดยบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรต่างๆจะได้รับการส่งเสริมให้เข้าร่วมเสนอแนะ กำกับติดตาม และสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม

5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการปรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
        การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทาการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตามกฎกระทรวง
        การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น
        ในวรรคแรกเขียนตามมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญ แต่เติมคำว่า "โอกาส" ไว้ด้วย  ซึ่งเกินรัฐธรรมนูญ เพราะโอกาสจะให้มากกว่าสิทธิแต่ในมาตรานี้คำว่า "โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" ก็ยังไม่ได้รับการตีความว่าหมายความว่าอย่างไร จะต้องไปให้คำจำกัดความต่อไปในขั้นปฏิบัติ
        วรรคที่สอง อาจมีความคลุมเครือในประเด็นความบกพร่องทางสังคมแต่ถ้าสามารถอธิบายได้ว่าความบกพร่องทางสังคม เช่น เกิดมาในชุมชนที่ยากจน เป็นต้น ส่วนที่ "บุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล" ก็คือผู้ที่ขาดพ่อแม่ผู้ปกครองนั่นเอง ประเด็นที่ถกเถียงกันก็คือคำ "แรกเกิด" กับ "แรกพบ" คำหลังอาจจะชัดเจนกว่า "แรกเกิด" อาจจะทำให้ทราบยากว่าใครทุพพลภาพ (ทางจิตใจ) หรือสติปัญญา จนกว่าจะมาค้นพบภายหลัง แต่การตีความกฎหมายคงต้องดูเจตนา ผู้เขียนคงต้องการเขียนให้ครอบคลุมทั้ง 2 สถานการณ์ คือ แรกเกิดในกรณีที่ทุพพลภาพทางร่างกาย "แรกพบ" ในกรณีที่ทุพพลภาพในด้านจิตใจ สติปัญญา
        วรรคที่สามของมาตรานี้ ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหมายถึงเด็กที่มีสติปัญญาเลิศหรือมีความสามารถเป็นพิเศษก็จะต้องส่งเสริมเป็นพิเศษ
        มาตรา 11 บิดา มารดาหรือผู้ปกครองที่มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา17 และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ ตามความพร้อมของครอบครัว
        มาตรา 12 นอกเหนือจากรัฐ เอกชน ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
        มาตรา 12 นี้ คือหลักสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางที่รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และสอดคล้องกับแนวทางของยูเนสโกที่ประเทศว่า "ทุกคนเพื่อการศึกษา” และนำมากำหนดไว้ในหลักการที่ 2 ในมาตรา 8 ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมนี้ ยังได้กำหนดการสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ ตามมาตรา 13 และ 14 ดังต่อไปนี้
          มาตรา 13 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
        (1) การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
        (2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
        (3) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
          มาตรา 14 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้
        (1) การสนับสนุนจากรัฐให้ความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ
        (2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด
        (3) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
        ในมาตรา 14 วรรคหนึ่งนี้ เติมคำว่า "ตามควรแก่กรณี" นั้นเพื่อแยกแยะในประเด็นที่ว่า หากผู้ใดมีส่วนจัดการศึกษาก็อาจจะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้ง 3 ข้อได้ แต่ถ้าผู้ใดมีส่วน "สนับสนุน" เช่นบริจาคทรัพย์ก็อาจได้สิทธิประโยชน์เฉพาะข้อ 3

6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้ตามมาตรา 15  การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
       (1) การศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลา
ของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
       (2) การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
       (3) การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส  โดยศึกษาจากบุคคล  ประสบการณ์  สังคม  สภาพแวดล้อม  สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ
        สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจาสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม  รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบตามอัธยาศัย  การฝึกอาชีพ  หรือจากประสบการณ์การทำงาน

7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
ตอบ   การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้  คุณธรรม  กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
        (1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง  และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัวชุมชน ชาติ และสังคมโลก  รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
        (2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ  การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
        (3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
        (4) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
        (5) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร

ตอบ   มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๗ ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความรู้รักสามัคคี ปลูกจิตสำนึกความเป็นไทย มีระเบียบวินัย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง"
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความของมาตรา ๑๐  แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๑๐ การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น"
มาตรา ๕  ให้ยกเลิกความของมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๑๒ บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษา โดยได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายกำหนด"
มาตรา ๖  เพิ่มมาตรา ๑๒/๑ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ดังต่อไปนี้
"มาตรา ๑๒/๑ การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ"
มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
"(๒) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด"
มาตรา ๘  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๑๔ บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษา มีสิทธิ ได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้
        (๑) การสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ
        (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
        (๓) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด"
มาตรา ๙  ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
"(๑) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์และหน้าที่ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย เอกลักษณ์ของชาติ และระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงาม"

9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ   ดิฉันเห็นด้วยกับกฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคล เพราะการมีกฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคลมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะทำให้สถานศึกษามีอิสระ มีความเข้มแข็งในการบริหาร เพื่อให้การบริหารเป็นไปอย่างคล่องตัว รวดเร็วและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติโดยรวม อย่างไรก็ตามการจะบริหารสถานศึกษาที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลให้บรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว มีแนวทางหรือเงื่อนไขที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรคำนึงดังนี้
1. รวบรวมและจัดระบบข้อมูลสารสนเทศให้เป็นปัจจุบัน การบริหารแนวใหม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารและตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลมากกว่าสามัญสำนึก ดังนั้น ผู้บริหารจึงจำเป็นจะต้องรวบรวม จัดระบบ และใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและตัดสินใจให้มากที่สุเท่าที่จะทำได้
2. วางแผนและดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ การวางแผนมีส่วนช่วยให่ผู้บริหารที่ทิศทางในการบริหารตามลำดับความสำคัญเร่งด่วนของปัญหาและนโยบายการบริหาร ดังนั้น ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผน และสามารถดำเนินการบริหารให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ รวมทั้งการดำเนินการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผน เพื่อให้การบริหารงานบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้อย่างเต็มที่
3.  ศึกษากฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลผู้บริหารมีอำนาจบริหารอย่างอิสระ ขณะเดียวกันก็รับผิดชอบต่อผลการตัดสินใจของตนอย่างเต็มที่เช่นกัน ดังนั้น เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดเชิงกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง รวมทั้งควรมีที่ปรึกษาทางกฎหมายคอยให้คำปรึกษาและเสนอแนะก่อนการตัดสินในที่ตนเองขาดความมั่นใจ
4.  การบริหารและการตัดสินใจโดยองค์คณะบุคคล การศึกษาเป็นบริการกิจการสาธารณะที่มีผู้เกี่ยวข้องและได้รับผลจากการบริการจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้การบริและการตัดสินใจมีความถูกต้องและก่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการมากที่สุด ผู้บริหารควรดำเนินการโดยใช้องค์คณะบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
5.  จัดระบบบัญชีให้ครบถ้วนถูกต้อง แม้ผู้บริหารจะมีอำนาจอิสระในการบริหารและตัดสินใจตามแต่อำนาจอิสระนั้นมิใช่เป็นไปโดยปราศจากการควบคุมตรวจสอบของทางราชการโดยเฉพาะด้านการใช้จ่ายเงินซึ่งส่วนใหญ่มาจากงบประมาณแผ่นดิน จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของสถานศึกษาทั้งในช่วงก่อนใช้ ระหว่างใช้ และภายหลังการใช้ ดังนั้นผู้บริหารจึงจำเป็นต้องจัดระบบบัญชีให้ครบถ้วน ความถูกต้องตามระบบและระเบียบของทางราชการเพื่อการบริหารของตนเป็นไปด้วยความโปร่งใส และ สุจริต
เงื่อนไขทั้ง 5 ประการดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องมีหรือจัดให้มีขึ้นเพื่อให้การบริหารและการตัดสินใจของตนมีประสิทธิภาพและบรรลุผลตามเจตนารมณ์ของการกำหนดให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคลอย่างเต็มที่

10. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ   ดิฉันเห็นด้วยกับกฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม เพราะเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งพัฒนาและวางรากฐานชีวิต การเตรียมความพร้อมของเด็กทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ บุคลิกภาพ และสังคม ให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐาน รวมทั้งให้สามารถค้นพบความต้องการ ความสนใจ ความถนัดของตนเองด้านวิชาการ วิชาชีพ ความสามารถในการประกอบการงานอาชีพ และทักษะทางสังคม โดยให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรมและมีความสำนึกในความเป็นไทย

11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามหมวด 2 หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
        ข้อ 3 ให้สถานศึกษาจัดโครงสร้างการบริหารที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
        ข้อ 4 ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
(1) กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
(2) กำกับ ติดตาม และให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
(3) เสนอสถานศึกษาแต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่ตรวจสอบ ทบทวน และรายงานคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif ข้อ 5 ให้สถานศึกษาจัดระบบสารสนเทศที่มีข้อมูลอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif ข้อ 6 ให้สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษาที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน สถานศึกษา ท้องถิ่นและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif ข้อ 7 ให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงหลักและครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้

(1) เป็นแผนที่ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพ ปัญหา และความจำเป็นอย่างเป็นระบบ และมีแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับ
(2) กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และสภาพความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม
(3) กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชา หรือผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
(4) กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
(5) กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคนรวมทั้งผู้เรียนรับผิดชอบ และดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
(6) กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
(7) กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif ข้อ 8 ให้สถานศึกษาดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif ข้อ 9 ให้คณะบุคคลตาม ข้อ 4 (3) ดำเนินการตรวจสอบ ทบทวน และรายงานการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif ในการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ให้ใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม โดยให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif ข้อ 10 ให้สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนทุกคนในทุกระดับช่วงชั้นที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลักและคุณลักษณะที่สำคัญด้วยกระบวนการและวิธีการที่ได้มาตรฐาน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif ข้อ 11 ให้สถานศึกษาจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี โดยระบุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา พร้อมหลักฐานข้อมูลและผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ตาม ข้อ 10 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif ข้อ 12 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งเสริม สนับสนุน และร่วมดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ดังนี้

(1) จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
(2) จัดให้มีการกำหนดสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ในวิชาแกนหลักของสถานศึกษาร่วมกันเป็นรายปีหรือเป็นรายภาค
(3) จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยกระบวนการและวิธีการที่ได้มาตรฐาน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif ข้อ 13 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี และรายงานผลให้สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดทราบ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif ข้อ 14 ให้หน่วยงานต้นสังกัดศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมเกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกำกับ สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม ประเมินผลและผดุงประสิทธิภาพของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif ข้อ 15 ในวาระเริ่มแรก ที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้บรรดาอำนาจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นอำนาจของหน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด 

12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ   ดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เพราะการที่เราต้องการเป็นครู เราจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ถ้าไม่มีใบประกอบวิชาชีพ แล้วไปสอนในสถานศึกษา เราจะมีความผิด มีโทษติดคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ใบประกอบวิชาชีพจะควบคุมจรรยาบรรณวิชาชีพของครู โดยจรรยาบรรณวิชาชีพครูคือข้อปฏิบัติที่ครูต้องประพฤติปฏิบัติตาม ซึ่งถูกควบด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา หากครูกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ คุรุสภามีอำนาจในการลงโทษในกรณีกระทำความผิดจริง โทษนั้นสถานเบาสุดไปหาหนักสุด ได้แก่ 1.ตักเตือน 2.ภาคทัณฑ์ 3.พักใช้ใบอนุญาต (ไม่เกิน 5 ปี) 4.เพิกถอนใบอนุญาต (5 ปี) นอกจากครูจะถูกควบคุมให้มีใบประกอบวิชาชีพและมีจรรยาบรรณวิชาชีพครูแล้ว คนเป็นครูยังต้องมีคุณธรรมจริยธรรม สำหรับครู คือ ความดีงามที่อยู่ในส่วนลึกจิตใจของครู เป็นแรงผลักดันให้ครูทำหน้าที่ของครูอย่างถูกต้อง เหมาะสมและสมบูรณ์ยิ่ง นอกจากนี้อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีจรรยาบรรณ  ต้องมีความรับผิดชอบต่อลูกศิษย์  ไม่ใช่ว่าใครที่ไหนก็จะมาเป็นครูได้ ยิ่งไปกว่านั้นเรายังสามารถใช้สมัครสอบบรรจุครูได้อีกด้วย ฉะนั้นคนที่อยากเป็นครูจึงต้องมีใบประกอบวิชาชีพทุกคน  

13. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ   โรงเรียนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาการศึกษาโดยมีการพัฒนาภาคี เครือข่าย ผู้อุปถัมภ์ให้มีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณการเงิน และทรัพย์สินทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น และต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษาโดยเป็นผู้จัด และ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา บริจาคทรัพย์สิน หรือทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา และ มีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้โรงเรียนสามารถที่จะบริหารจัดการและพัฒนาให้มีคุณภาพ ส่งผลถึงคุณภาพของนักเรียนต่อไป
การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเศรษฐกิจ ลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้/ใช้ชีวิตอย่างพอควร/คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ/มีภูมิคุ้มกันไม่เสี่ยงเกินไป/การเผื่อทางเลือกสำรอง/ทำอย่างไรจะรักษาสมดุลรายรับรายจ่ายมีเงินออมมีหลักประกัน และการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ/เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด/ฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด นอกจากนี้การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านวัฒนธรรม มีจิตใจเข้มแข็ง/พึ่งตนเองได้/มีจิตสำนึกที่ดี/เอื้ออาทร ประนีประนอม /เห็นคุณค่าในความเป็นไทย เอกลักษณ์ไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น/มีความแกร่งในความเป็นไทยเข้าใจในความเป็นสากล
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เข้าใจ เข้าถึง แล้วจึงพัฒนา ประชุมครูเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง ต้องร่วมมือรวมใจในการดำเนินงานจึงจะประสบความสำเร็จได้

14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของเด็กวัยเรียน ให้มีความรู้ทางวิชาการ ทักษะและสติปัญญาที่สามารถศึกษาหาความรู้และ ต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถปรับตัวให้รู้เท่าทันกับข่าวสารภายใต้บริบทแห่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว  จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาไปสู่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตต่อไป  รัฐบาลภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อ  วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554 โดยมีนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรกข้อ 1.15 จัดหาเครื่องแท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) ให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ.2555 ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในแท็บเล็ตพีซี รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐาน การให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ดังนั้นดิฉันมีความเห็นว่าโครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย (One Tablet Per Child)  มิใช่เป็นเพียงเครื่องมือให้กับนักเรียนใช้เรียน แทนหนังสือเรียนเท่านั้น  แต่ความเป็นจริงแล้วแท็บเล็ตพีซีนี้สามารถทำอะไรได้อย่างมากมาย  ขึ้นอยู่กับครู  ผู้บริหารและผู้ปกครองจะนำเครื่องมือนี้ไปใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตามการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งความรู้ต่าง ๆ เป็นการสร้างความตื่นตัวให้กับเด็ก เยาวชนและประชาชนทุกระดับ   จึงนับได้ว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ในการกระตุ้นให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างเด็กเล็กกับพ่อแม่ผู้ปกครองซึ่งยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว   ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่าง ๆ ในโลกกว้างและยังสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างเด็กในเมืองกับเด็กในชนบท สร้างโอกาสและพัฒนาคุณภาพ    ทางการศึกษาโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถใช้ได้ในรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการการเรียนรู้รายบุคคล  นอกจากนั้น เหตุผลที่ให้เด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ใช้แท็บเล็ตพีซีก่อนเพราะเป็นวัยที่สามารถเรียนรู้ได้เร็วตามพัฒนาการทางสมองที่เหมาะสม  จะทำให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข และสามารถสร้างสิ่งที่ดีให้กับตนเองและสังคมได้ในอนาคต






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น