วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาคเรียน


คำชี้แจง ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้ ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)

1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  กฎหมาย คือ ข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าในกฎหมายสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดให้รัฐต้องส่งเสริมและคุ้มครองโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยเหตุผลทางด้าน เผ่าพันธ์   เพศ ภาษา  และศาสนา บุคคลทุกคนต้องได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน อันเป็นการปกป้องสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของบุคคลไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นผู้ใดก็ตามต้องเท่าเทียมกัน

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ  ดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เพราะการที่เราต้องการเป็นครู เราจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ถ้าไม่มีใบประกอบวิชาชีพ แล้วไปสอนในสถานศึกษา เราจะมีความผิด มีโทษติดคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ใบประกอบวิชาชีพจะควบคุมจรรยาบรรณวิชาชีพของครู โดยจรรยาบรรณวิชาชีพครูคือข้อปฏิบัติที่ครูต้องประพฤติปฏิบัติตาม ซึ่งถูกควบด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา หากครูกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ คุรุสภามีอำนาจในการลงโทษในกรณีกระทำความผิดจริง นอกจากนี้อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีจรรยาบรรณ  ต้องมีความรับผิดชอบต่อลูกศิษย์  ไม่ใช่ว่าใครที่ไหนก็จะมาเป็นครูได้ เพราะฉะนั้นคนที่อยากเป็นครูจึงต้องมีใบประกอบวิชาชีพทุกคน 

3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ  ดิฉันมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นโดยการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเศรษฐกิจ ลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้/ใช้ชีวิตอย่างพอควร/คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ/มีภูมิคุ้มกันไม่เสี่ยงเกินไป/การเผื่อทางเลือกสำรอง/ทำอย่างไรจะรักษาสมดุลรายรับรายจ่ายมีเงินออมมีหลักประกัน และการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ/เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด/ฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด นอกจากนี้การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านวัฒนธรรม มีจิตใจเข้มแข็ง/พึ่งตนเองได้/มีจิตสำนึกที่ดี/เอื้ออาทร ประนีประนอม /เห็นคุณค่าในความเป็นไทย เอกลักษณ์ไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น/มีความแกร่งในความเป็นไทยเข้าใจในความเป็นสากล
นอกจากนี้การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เข้าใจ เข้าถึง แล้วจึงพัฒนา ประชุมครูเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง ต้องร่วมมือรวมใจในการดำเนินงานจึงจะประสบความสำเร็จได้

4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ  รูปแบบการศึกษามี รูปแบบ ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาในระบบมี 2 ระดับคือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  การศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นแตกต่างกัน การศึกษาภาคบังคับมีจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ และเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมือง ส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า สิบสองปี ก่อนระดับอุดมศึกษา และไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิ์ของคนไทย

6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ  การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการดังนี้
(๑) สำนักงานปลัดกระทรวง
(๒) ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
(๑) สำนักงานรัฐมนตรี
(๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
(๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาของชาติ จะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อ
 1. พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา
2. เพื่อปรับสภาในกระทรวงศึกษาธิการตาม พระราชบัญญัติ ครู พ.ศ. 2488
 3. เพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์และ เจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป

8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ  ไม่ผิด เพราะว่าตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ได้กล่าวไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3. นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
4. ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
5. ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
6. คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
7. ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
8. บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
ตอบ  โทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ บุคคลที่กระทำผิดตามระเบียบแบบแผนที่ข้าราชการต้องประพฤติปฏิบัติ
และโทษทางวินัย มี 5 สถาน คือ
1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน
3. ลดเงินเดือน
4. ปลดออก
5. ไล่ออก

10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าใจของท่าน
ตอบ  เด็ก คือ บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
เด็กเร่ร่อน คือ เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
เด็กกำพร้า คือ เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก คือ เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เด็กพิการ คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา หรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด คือ เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น