วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสอบปลายภาค


ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)

1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด  พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ  
ตอบ  กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ     ซึ่งจะวางระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ตลอดจนการกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของชนชาวไทย
        พระราชบัญญัติ (...) คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ
   พระราชกำหนด (...) คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี การตราพระราชกำหนดให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และต้องเป็นกรณีเพื่อจะรักษาความปลอดภัยของประเทศหรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเป็นพระราชกำหนดเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินและเมื่อได้ประกาศใช้แล้วต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อสภาทันทีถ้ารัฐอนุมัติก็มีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป
      พระราชกฤษฎีกา (..) คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกาจะออกได้ต่อเมื่อพระราชบัญญัติซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาจึงเป็นเสมือนกฎหมายที่ไม่สามารถจะออกมาให้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บท และถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก พระราชกฤษฎีกานั้นก็ถือว่าถูกยกเลิกไปด้วย การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
        เทศบัญญัติ คือ กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496

2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร  ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ  กฎหมายรัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศในปัจจุบันนั้นเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญใช้บังคับและถือเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งเป็นกฎหมายที่ประชาชนสามารถใช้สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เช่นประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการร่างรัฐธรรมนูญ หรือมีส่วนลงประชามติให้ความยินยอม สังคมใดที่ไม่มีการประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน และไม่มีการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตย สังคมนั้นไม่มีรัฐธรรมนูญ   ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้ คือ จะต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมให้มากที่สุด และควรมีกฎเกณฑ์ มีกติกา ระเบียบวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละสังคมเป็นเครื่องยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้สังคมมีระเบียบ ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยและอยู่อย่างสันติสุข   หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญดิฉันคิดว่าสังคมวุ่นวาย ไม่สามัคคีกัน มีการแย่งชิงอำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตน สังคมไม่มีระเบียบ วินัย อันก่อให้เกิดความไม่สงบและสันติสุข ดังนั้นมนุษย์เราไม่ว่าจะเป็นชนเชื้อชาติศาสนาใดเมื่อรวมกันอยู่ในสังคมจะต้องมีกฎเกณฑ์ มีกติกา ระเบียบวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละสังคมเป็นเครื่องยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้สังคมมีระเบียบ ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยและอยู่อย่างสันติสุข

3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ  ดิฉันคิดว่าไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 เนื่องจากกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่มิได้ห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ใดกระทำ แต่เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องคุ้มครองประมุขของรัฐที่มีสถานะเป็นพระมหากษัตริย์และเป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ อันอยู่ในสถานะที่มีความเกี่ยวพันทางวัฒนธรรม ประเพณีและความมั่นคงของประเทศ ซึ่งผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไม่ได้ มาตรา 112 เป็นเพียงกฎหมาย ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการดังกล่าวเท่านั้น ดังนั้นผู้ใดจะหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์หรือสถาบันพระมหากษัตริย์ย่อมกระทำได้ แต่ผู้นั้นก็ต้องรับผิดชอบกับการถูกดำเนินคดี ถูกศาลพิพากษาลงโทษเอง 
          
4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่ง มองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
ตอบ  ดิฉันคิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา ถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก ซึ่งข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา ทั้งในกรณีปราสาทพระวิหาร และเส้นเขตแดนทางบกกับทะเล ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศนั้นประสบกับสภาวะถดถอย แม้ที่ผ่านมาไทยกับกัมพูชา ต่างได้พยายามแก้ไขปัญหาข้อพิพาทร่วมกัน แต่ด้วยอุปสรรคต่างๆ ไม่ว่าในส่วนของปัญหาระหว่างผู้นำของไทยและกัมพูชา สภาพการเมืองภายในของทั้งสองประเทศ เป้าประสงค์ในการแก้ไขปัญหาที่ต่างกัน และการรับรู้ข่าวสารที่คลาดเคลื่อน ตลอดจนทัศนะคติที่ไม่ดีระหว่างประชาชนชาวไทยและกัมพูชา ล้วนส่งผลกระทบต่อความพยายามของทั้งสองประเทศในการคลี่คลายปัญหา ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหา คือ เสริมสร้างความสัมพันธ์ในทุกระดับ เสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และควรพัฒนาพื้นที่พิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา ให้เป็นพื้นที่ร่วมทางวัฒนธรรมหรือเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวร่วม เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางวัฒนธรรม และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ  รวมถึงพิจารณาจัดให้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา เป็นวาระแห่งชาติ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างทั้งสองประเทศเป็นหลักสำคัญ เพื่อให้การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นไปอย่างราบรื่น นำมาซึ่งความสงบสุขและเจริญรุ่งเรืองมั่งคั่งของทั้งสองประเทศ ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน

5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วย กับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
ตอบ  ดิฉันเห็นด้วยกับประเด็นที่ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา เพราะพระราชบัญญัติการศึกษาและรัฐธรรมนูญการศึกษา เป็นหัวใจสำคัญและเป็นแนวทางในการร่างและเขียนพระราชบัญญัติการศึกษาขึ้นมา เพื่อนำมาประกาศใช้และเพื่อพัฒนาปวงชนชาวไทยให้มีการศึกษาทุกคนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ตามจุดมุ่งหมายของการพัฒนาศักยภาพคนไทย

6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา  สถานศึกษา
ตอบ  "การศึกษา" คือ  กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
       "การศึกษาขั้นพื้นฐาน" คือ การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
       "การศึกษาตลอดชีวิต" คือ  การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
       “การศึกษาในระบบ”  คือ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
       “การศึกษานอกระบบ”  คือ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ
วิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของ
การสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา
และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
       “การศึกษาตามอัธยาศัย” คือ เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ
ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส  โดยศึกษาจากบุคคล  ประสบการณ์  สังคม  สภาพแวดล้อม  สื่อ
หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
       "สถานศึกษา" คือ  สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียนวิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
       "สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน" คือ  สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
       "มาตรฐานการศึกษา" คือ  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจ-สอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
       "การประกันคุณภาพภายใน" คือ  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
       "การประกันคุณภาพภายนอก" คือ  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
       "ผู้สอน" คือ  ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
       "ครู" คือ  บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
       "คณาจารย์" คือ  บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
       "ผู้บริหารสถานศึกษา" คือ  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่ง ทั้งของรัฐและเอกชน
       "ผู้บริหารการศึกษา" คือ  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
       "บุคลากรทางการศึกษา" คือ  ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษารวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ

7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
ตอบ  ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษา คือ มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติต่างๆ ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม และมุ่งให้คนไทย "มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" การเพิ่มมิติด้านสังคมนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างส่วนบุคคลและส่วนรวม นอกจากนี้ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นประมุข มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะวัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ถูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
หลักการจัดการในการจัดการศึกษายึดหลักดังนี้
         
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน คือ รัฐจะต้องจัดหรือส่งเสริมให้เอกชนและทุกๆส่วนในสังคมได้จัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน 
        (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา คือ
กำหนดสิทธิของประชาชนที่จะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและกำหนดแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของการสื่อสารเพื่อการศึกษา เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
        (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาคุณภาพการศึกษาไทยจะล้าหลังประเทศอื่น ก็เพราะเราไม่จัดระบบของเราให้เกิดการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
ตอบ  การที่บุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายนั้นไม่ผิด เพราะ ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ.ศ.2546 ได้กำหนดไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีดังนี้คือ ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย รวมทั้งนักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม นอกจากนี้ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ คณาจารย์ และผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน ตลอดจนผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา

9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ  การสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู รวมทั้งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา และไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
               
10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม  และเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนัก วิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบ  เมื่อดิฉันได้เรียนวิชานี้ ดิฉันได้รับความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมายการศึกษา พระราชบัญญัติ และระเบียบต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการเพิ่มมากขึ้น ดิฉันคิดว่าความรู้ที่ดิฉันได้รับจากวิชานี้นำไปสู่การสอบบรรจุได้ ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog นั้นมีความเหมาะสม เพราะทำให้นักเรียนได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งที่หลากหลาย ได้แชร์ความรู้ที่ได้รับจากวิชานี้ และทำให้สะดวกในการค้นหาข้อมูล รวมทั้งรู้จักการใช้เทคโนโลยีในการเรียนให้เกิดประโยชน์ ที่สำคัญประหยัดค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองกระดาษ ถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ควรให้เกรด A และดิฉันคิดว่าตนเองควรจะได้เกรด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น